วันอาทิตย์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2553

สถาปัตย์สัญจร กับ ทริปอาจารย์จิ๋ว ( วันที่ 7 ) : 30/07/53 อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย

เช้าที่ไม่เร่งร้อนนัก เดินทางแบบไม่เร่งร้อนนัก
ถึงที่หมายแบบไม่เร่งร้อนนัก

วัดพระศรีรัตนมหาธาตุราชวรวิหาร

ทางเดินที่ผ่านบ้านของผู้คน ข้ามสะพานแขวน เหมือนกับจงใจให้ผู้คนเดินผ่านเพื่อซึมซับบรรยากาศ สุดทางสะพานแขวน คือ การเปิด Space ให้เห็นถึงโบราณสถานที่ยังคงยิ่งใหญ่ในบริเวณที่กว้างขวางเมื่อทอดสายตา

ไม่มีหลักฐานการสร้างที่แน่ชัด แต่ดูจากหลักฐานทางโบราณคดีแล้ว วัดนี้มีอายุตั้งแต่สมัยขอมเรืองอำนาจ คือ ประมาณ 800 ปีมาแล้วเป็นอย่างต่ำ ซึ่งความจริงอาจสามารถกำหนดอายุได้มากกว่านี้เพราะที่ตั้งของวัดมีลักษณะ เป็นศูนย์กลางของชุมชนหรือเมืองบริเวณนี้ คือ เมืองเชลียง ซึ่งเป็นเมืองที่มีชีวิตอยู่ร่วมสมัยกับยุคทวารวดี

ลักษณะฐานปรางค์องค์นี้ มีเป็นวิหารคด 3 ชั้น ก่อผนังทึบ และเจาะช่องแสง ฐานปรางค์แผ่ขยายกว้างออกไปทั้ง 3 ด้าน (ด้านหน้าเป็นพระวิหาร) คล้ายสร้างครอบสถูปหรือเจดีย์ที่สำคัญไว้ภายใน มีอายุอยู่ ในช่วงก่อนสุโขทัยตอนต้น

กำแพงวัดเป็นศิลาแลงแท่งกลมขนาดใหญ่ปักเรียงชิดติดกันเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีคานทับหลังกำแพง มีทางเข้าออกด้านหลัง เหนือซุ้มประตูทำเป็นรูปคล้ายหลังคา ยอดเหนือซุ้มขึ้นไปปั้นปูนเป็นรูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร สัดส่วนพอดีกับความสูงของคนในสมัยก่อน

วัดโคกสิงคาราม

โบราณสถานประกอบด้วย เจดีย์ทรงกลมก่อด้วยศิลาแลง ตั้งอยู่บนฐานเดียวกันเช่นเดียวกับวัดศรีสรรเพชญ์ ที่อยุธยา วิหารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าก่อด้วยศิลาแลง ผนังวิหารมีช่องแสง โบสถ์อยู่ทางด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือของวิหาร เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าพื้นภายในโบสถ์ปูด้วยศิลาแลง ภายในโบสถ์มีเจดีย์ทรงกลม ซึ่งมีซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูป รอบ ๆ เจดีย์มีเจดีย์รายตั้งอยู่โดยรอบสี่องค์ กำแพงวัดก่อด้วยศิลาแลงมีอยู่สามด้าน กำแพงด้านทิศใต้ใช้ร่วมกับแนวกำแพงเมืองเชลียง

คราบความเก่า Textureของผนัง การจัดวางระนาบ และเจดีย์ แสดงถึงความแท้ และองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมที่มีคุณค่าให้เราได้ศึกษา

เอ้า !!!!! ล-----ง
พักรับประทานอาหาร ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว
มีรูปแบบสถาปัตยกรรมที่สอดคล้องกับตัวโบราณสถาน สี วัสดุ รูปแบบ ฯลฯ ของอาคาร

วัดกุฎีราย

โบราณสถานที่สำคัญคือมณฑปประกอบอาคาร (มณฑปวิหาร) ก่อด้วยศิลาแลงทั้งหลัง หลังคาใช้ศิลาแลงก่อเหลื่อมเข้าหากันเป็นทรงจั่วเลียนแบบเครือไม้ หน้าจั่วมีรอยบาก เพื่อเชื่อมหลังคาเครื่องไม้ของอาคาร ด้านหน้ามณฑปมีซุ้มประตูรูปโค้งกลีบบัวเป็นทางเข้าสู่ภายใน ซึ่งประดิษฐานพระพุทธรูปประทับนั่ง มณฑปประกอบอาคารหลังเล็ก ตั่งอยู่ทางด้านขวาของมณฑปประกอบอาคารหลังใหญ่ นอกจากนั้นมีกลุ่มเจดีรายอยู่หกองค์ ได้ชื่อว่าเป็นมณฑปที่ทรวดทรง สัดส่วนงดงามมาก

ศูนย์ศึกษาและอนุรักษ์เตาสังคโลก

สถาปัตยกรรมของอาคาร ทั้งภายในภายนอก ได้ประยุกต์กับรูปแบบโบราณสถาน ผสมผสานกับความเป็น Modern มีสัดส่วน และระนาบที่ได้สัดส่วนกัน ตัวอาคารกับระนาบที่เป็นรั้ว และตัว Lanscape มีความเชื่อมผสาน จัดวางอยู่ด้วยกันอย่างลงตัว หลังคามีการนำโครงสร้างสมัยใหม่เข้าประยุกต์ ให้ผลทางประโยชน์ใช้สอยที่ดี และไม่สูญเสียความงาม

พร้อมกับศึกษาความงามทางสถาปัตยกรรม บ้านเรือนของชาวบ้านละแวกนั้น

วัดเจดีย์เก้ายอด

อยู่บนเขาใหญ่ ซึ่งเป็นแนวเขาที่ทอดต่อมาจากเขาพนมเพลิง นอกกำแพงเมืองทางทิศตะวันตก เป็นวัดจำนวน 1 ใน 27 วัด ที่ตั้งอยู่บนสันเขา โบราณสถานสำคัญประกอบด้วยเจดีย์ประธาน มียอดเจดีย์อยู่ข้างบน 9 ยอด ห้องกลางของเรือนธาตุประดิษฐานพระพุทธรูปประทับนั่งเป็นพระประธาน เจดีย์ตั้งอยู่บนเชิงเขาบนชั้นหินธรรมชาติที่ปรับแต่งเป็นพื้นที่ราบแล้วก่อ สร้างเจดีย์และวิหาร กำหนดอายุประมาณพุทธศตวรรษที่ 21

การก่อสร้างโบราณสถาน ที่อยู่บนสันเขา แต่มีจังหวะของอาคาร การตั้งอยู่ ซึ่งสัมพันธ์กับตัวสถานที่ก่อสร้าง มี Step ของอาคาร การถ่ายทอดอาคารไปตามความชัน สภาพที่ตั้งตามธรรมชาติอย่างแท้จริง ก่อให้เกิดความกลมกลืนเป็นหนึ่งเดียวระหว่างสถาปัตยกรรม และสภาพแวดล้อม

อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย
ลัดเลาะผ่านกำแพงเมืองเดิม ที่คงความขลัง ความแท้
เขียวขจี สงบ ตามธรรมดาของธรรมชาติ

วัดนางพญา

วัดเจดีย์เจ็ดแถว

วัดช้างล้อม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น