ในเช้าอีกวัน ในการอำลาสุโขทัย
ในอีกการเดินทาง ในอีกเป้าหมาย
พิษณุโลก และกรุงเทพมหานครฯ
วัดราชบูรณะ
เข้าเขตวัดโปรดลดความเลว
วัด ราชบูรณะ ตั้งอยู่ริมแม่น้ำน่านฝั่งตะวันออก ทางใต้ของวัดพระศรีมหาธาตุ ตัวพระอุโบสถมีลักษณะพิเศษคือ เศียรนาค ที่ชายคาเป็นนาค 3 เศียร มีลักษณะอ่อนช้อยงดงาม เป็นวัด ที่พระมหากษัตริย์ทรงสร้าง เชื่อ ว่าเป็นสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ เนื่องจากทรงประทับอยู่ที่ เมืองพิษณุ โลกถึง25 ปี และทรงมีบทบาททางบำรุงพระศาสนาที่จังหวัดพิษณุโลก
อุโบสถวัดราชบูรณะเป็นแบบสมัยสุโขทัย แต่แตกต่างตรงที่ช่องเปิดเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าช่องเดียว ไม่เป็นแถบยาว และมีหลายช่องแบบที่ปรากฏในอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยและศรีสัชนาลัย
วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ( วัดพระพุทธชินราช )
พระวิหารพระพุทธชินราช เป็นวิหารทรงโรง เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธชินราช ตัวพระวิหารสร้างมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย และได้รับการบูรณะให้มีสภาพดีมาตลอดจนถึงสมัยปัจจุบัน พระวิหารหลังนี้จึงเป็นสถาปัตยกรรมสมัยกรุงสุโขทัยที่มีความสง่างามสมส่วน และยังคงสภาพสมบูรณ์ดีที่สุดแห่งหนึ่งของไทย
ผังอาคารของวัด จะไม่ใช่สี่เหลี่ยมจัตุรัส แต่จะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า ที่ล้อมรอบด้วยระเบียงคด มีองค์พระรอบ หันหน้าออกจากผนัง เป็น Approach นำผู้คนให้เดินเข้าสู่พื้นที่ภายในได้อย่างแยบยล
ปรางค์ประธาน รูปแบบของพระปรางค์เมื่อเริ่มสร้างสันนิษฐานว่า เป็นเจดีย์ทรงดอกบัวตูม โดยสร้างครอบพระสถูปเจดีย์ที่สร้างในรัชสมัยของพ่อขุนศรีนาวนำถม เมื่อสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถขึ้นไป ครองราชย์ที่เมืองพิษณุโลก ได้โปรดให้บูรณะพระปรางค์โดยดัดแปลงพระเจดีย์ ได้ให้เป็นรูปแบบพระปรางค์แบบขอมตามพระราชนิยมในสมัยกรุงศรีอยุธยา
ผ่านการเดินทางที่ยาวนาน ผ่านการเดินทางมากมายเรื่องราว
ผ่านหลายเหตุการณ์ ผ่านหลากความทรงจำ
ผ่านครั้งหนึ่งในชีวิต ผ่านกว่า 20 วัด 9 วัน
ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน และยังคงจดจำไว้.
( ขอขอบคุณอาจารย์จิ๋ว อาจารย์ทุกท่าน รุ่นพี่ เพื่อนๆทุกคน พี่แป๊ะและลุงพลขับอีกคน ตลอดจนถึงผู้มีอุปการคุณทุกท่าน ในทุกโอกาส ทุกสถานที่สำหรับประสบการณ์ ความรู้ ความมีสวัสดิภาพในการเดินทาง และขอขอบคุณอาจารย์ไก่ สำหรับการเขียน Blog ในครั้งนี้ด้วยครับ . )
วันอาทิตย์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2553
สถาปัตย์สัญจร กับ ทริปอาจารย์จิ๋ว ( วันที่ 8 ) : 31/07/53 เยือนกงไกรลาส และ สนามบินสุโขทัย
เช้าที่เหมือนเดิม รถคันเดิม
ข้าวเช้าเหมือนเดิม ทิศทางที่ไปไม่เหมือนเดิม
บ้านป้าอาจารย์ตี๋
บ้านชั้นเดียว ที่ได้สัดส่วน
การจัดวาง และใช้พื้นที่ภายในเป็นสัดเป็นส่วน สมบูรณ์ในพื้นที่ใช้สอย
ซึ่งมีผลมาจากการใช้ชีวิตจริงๆ
สวนสวย บรรยากาศร่มรื่น
สงบจิตสงบใจ และรื่นรมย์
กงไกรลาส
สภาพบ้านเรือนที่ยังคงรูปแบบวิถีชีวิต เมื่อสักสมัย 20 ปีก่อน ( อ้างอิงกับที่บ้านตัวเอง เมื่อก่อนก็เป็นแบบนี้ ) คราบของวิถีชีวิตผู้คน ความเก่า ความผูกสัมพันธ์ระหว่างคน บ้าน สถานที่ ยังคงเป็นภาพเหล่านั้นอยู่
สนามบินสุโขทัย
ถอดรูปแบบบางส่วนของโบราณสถานสุโขทัย( รูปแบบภายนอก ) และประยุกต์ผสมผสานเข้ากับ Modern ในส่วนพื้นที่ภายใน
ในบริบทของท้องทุ่งรอบสนามบิน ความเป็นสุโขทัยและชุมชนกสิกรรมแท้ๆ เผยให้กับผู้พบเห็นให้ได้สัมผัสบรรยากาศเหล่านั้น
โรงแรมสุโขทัย เฮอร์ริเทจ วิลล่า
สถาปัตยกรรมภายนอกถอดรูปแบบของโบราณสถาน การตกแต่งภายในแบบบูติค
อาคารที่วางโอบล้อมสระน้ำ เกิด Space ตรงกลาง
การผสมผสานกับรูปแบบสถาปัตยกรรมแบบเก่า กับการตกแต่งสมัยใหม่
คือการสร้างรูปแบบทางสถาปัตยกรรม และการใช้สอยในอีกมิติหนึ่งที่น่าสนใจ
ข้าวเช้าเหมือนเดิม ทิศทางที่ไปไม่เหมือนเดิม
บ้านป้าอาจารย์ตี๋
บ้านชั้นเดียว ที่ได้สัดส่วน
การจัดวาง และใช้พื้นที่ภายในเป็นสัดเป็นส่วน สมบูรณ์ในพื้นที่ใช้สอย
ซึ่งมีผลมาจากการใช้ชีวิตจริงๆ
สวนสวย บรรยากาศร่มรื่น
สงบจิตสงบใจ และรื่นรมย์
กงไกรลาส
สภาพบ้านเรือนที่ยังคงรูปแบบวิถีชีวิต เมื่อสักสมัย 20 ปีก่อน ( อ้างอิงกับที่บ้านตัวเอง เมื่อก่อนก็เป็นแบบนี้ ) คราบของวิถีชีวิตผู้คน ความเก่า ความผูกสัมพันธ์ระหว่างคน บ้าน สถานที่ ยังคงเป็นภาพเหล่านั้นอยู่
สนามบินสุโขทัย
ถอดรูปแบบบางส่วนของโบราณสถานสุโขทัย( รูปแบบภายนอก ) และประยุกต์ผสมผสานเข้ากับ Modern ในส่วนพื้นที่ภายใน
ในบริบทของท้องทุ่งรอบสนามบิน ความเป็นสุโขทัยและชุมชนกสิกรรมแท้ๆ เผยให้กับผู้พบเห็นให้ได้สัมผัสบรรยากาศเหล่านั้น
โรงแรมสุโขทัย เฮอร์ริเทจ วิลล่า
สถาปัตยกรรมภายนอกถอดรูปแบบของโบราณสถาน การตกแต่งภายในแบบบูติค
อาคารที่วางโอบล้อมสระน้ำ เกิด Space ตรงกลาง
การผสมผสานกับรูปแบบสถาปัตยกรรมแบบเก่า กับการตกแต่งสมัยใหม่
คือการสร้างรูปแบบทางสถาปัตยกรรม และการใช้สอยในอีกมิติหนึ่งที่น่าสนใจ
สถาปัตย์สัญจร กับ ทริปอาจารย์จิ๋ว ( วันที่ 7 ) : 30/07/53 อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย
เช้าที่ไม่เร่งร้อนนัก เดินทางแบบไม่เร่งร้อนนัก
ถึงที่หมายแบบไม่เร่งร้อนนัก
วัดพระศรีรัตนมหาธาตุราชวรวิหาร
ทางเดินที่ผ่านบ้านของผู้คน ข้ามสะพานแขวน เหมือนกับจงใจให้ผู้คนเดินผ่านเพื่อซึมซับบรรยากาศ สุดทางสะพานแขวน คือ การเปิด Space ให้เห็นถึงโบราณสถานที่ยังคงยิ่งใหญ่ในบริเวณที่กว้างขวางเมื่อทอดสายตา
ไม่มีหลักฐานการสร้างที่แน่ชัด แต่ดูจากหลักฐานทางโบราณคดีแล้ว วัดนี้มีอายุตั้งแต่สมัยขอมเรืองอำนาจ คือ ประมาณ 800 ปีมาแล้วเป็นอย่างต่ำ ซึ่งความจริงอาจสามารถกำหนดอายุได้มากกว่านี้เพราะที่ตั้งของวัดมีลักษณะ เป็นศูนย์กลางของชุมชนหรือเมืองบริเวณนี้ คือ เมืองเชลียง ซึ่งเป็นเมืองที่มีชีวิตอยู่ร่วมสมัยกับยุคทวารวดี
ลักษณะฐานปรางค์องค์นี้ มีเป็นวิหารคด 3 ชั้น ก่อผนังทึบ และเจาะช่องแสง ฐานปรางค์แผ่ขยายกว้างออกไปทั้ง 3 ด้าน (ด้านหน้าเป็นพระวิหาร) คล้ายสร้างครอบสถูปหรือเจดีย์ที่สำคัญไว้ภายใน มีอายุอยู่ ในช่วงก่อนสุโขทัยตอนต้น
กำแพงวัดเป็นศิลาแลงแท่งกลมขนาดใหญ่ปักเรียงชิดติดกันเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีคานทับหลังกำแพง มีทางเข้าออกด้านหลัง เหนือซุ้มประตูทำเป็นรูปคล้ายหลังคา ยอดเหนือซุ้มขึ้นไปปั้นปูนเป็นรูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร สัดส่วนพอดีกับความสูงของคนในสมัยก่อน
วัดโคกสิงคาราม
โบราณสถานประกอบด้วย เจดีย์ทรงกลมก่อด้วยศิลาแลง ตั้งอยู่บนฐานเดียวกันเช่นเดียวกับวัดศรีสรรเพชญ์ ที่อยุธยา วิหารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าก่อด้วยศิลาแลง ผนังวิหารมีช่องแสง โบสถ์อยู่ทางด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือของวิหาร เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าพื้นภายในโบสถ์ปูด้วยศิลาแลง ภายในโบสถ์มีเจดีย์ทรงกลม ซึ่งมีซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูป รอบ ๆ เจดีย์มีเจดีย์รายตั้งอยู่โดยรอบสี่องค์ กำแพงวัดก่อด้วยศิลาแลงมีอยู่สามด้าน กำแพงด้านทิศใต้ใช้ร่วมกับแนวกำแพงเมืองเชลียง
คราบความเก่า Textureของผนัง การจัดวางระนาบ และเจดีย์ แสดงถึงความแท้ และองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมที่มีคุณค่าให้เราได้ศึกษา
เอ้า !!!!! ล-----ง
พักรับประทานอาหาร ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว
มีรูปแบบสถาปัตยกรรมที่สอดคล้องกับตัวโบราณสถาน สี วัสดุ รูปแบบ ฯลฯ ของอาคาร
วัดกุฎีราย
โบราณสถานที่สำคัญคือมณฑปประกอบอาคาร (มณฑปวิหาร) ก่อด้วยศิลาแลงทั้งหลัง หลังคาใช้ศิลาแลงก่อเหลื่อมเข้าหากันเป็นทรงจั่วเลียนแบบเครือไม้ หน้าจั่วมีรอยบาก เพื่อเชื่อมหลังคาเครื่องไม้ของอาคาร ด้านหน้ามณฑปมีซุ้มประตูรูปโค้งกลีบบัวเป็นทางเข้าสู่ภายใน ซึ่งประดิษฐานพระพุทธรูปประทับนั่ง มณฑปประกอบอาคารหลังเล็ก ตั่งอยู่ทางด้านขวาของมณฑปประกอบอาคารหลังใหญ่ นอกจากนั้นมีกลุ่มเจดีรายอยู่หกองค์ ได้ชื่อว่าเป็นมณฑปที่ทรวดทรง สัดส่วนงดงามมาก
ศูนย์ศึกษาและอนุรักษ์เตาสังคโลก
สถาปัตยกรรมของอาคาร ทั้งภายในภายนอก ได้ประยุกต์กับรูปแบบโบราณสถาน ผสมผสานกับความเป็น Modern มีสัดส่วน และระนาบที่ได้สัดส่วนกัน ตัวอาคารกับระนาบที่เป็นรั้ว และตัว Lanscape มีความเชื่อมผสาน จัดวางอยู่ด้วยกันอย่างลงตัว หลังคามีการนำโครงสร้างสมัยใหม่เข้าประยุกต์ ให้ผลทางประโยชน์ใช้สอยที่ดี และไม่สูญเสียความงาม
พร้อมกับศึกษาความงามทางสถาปัตยกรรม บ้านเรือนของชาวบ้านละแวกนั้น
วัดเจดีย์เก้ายอด
อยู่บนเขาใหญ่ ซึ่งเป็นแนวเขาที่ทอดต่อมาจากเขาพนมเพลิง นอกกำแพงเมืองทางทิศตะวันตก เป็นวัดจำนวน 1 ใน 27 วัด ที่ตั้งอยู่บนสันเขา โบราณสถานสำคัญประกอบด้วยเจดีย์ประธาน มียอดเจดีย์อยู่ข้างบน 9 ยอด ห้องกลางของเรือนธาตุประดิษฐานพระพุทธรูปประทับนั่งเป็นพระประธาน เจดีย์ตั้งอยู่บนเชิงเขาบนชั้นหินธรรมชาติที่ปรับแต่งเป็นพื้นที่ราบแล้วก่อ สร้างเจดีย์และวิหาร กำหนดอายุประมาณพุทธศตวรรษที่ 21
การก่อสร้างโบราณสถาน ที่อยู่บนสันเขา แต่มีจังหวะของอาคาร การตั้งอยู่ ซึ่งสัมพันธ์กับตัวสถานที่ก่อสร้าง มี Step ของอาคาร การถ่ายทอดอาคารไปตามความชัน สภาพที่ตั้งตามธรรมชาติอย่างแท้จริง ก่อให้เกิดความกลมกลืนเป็นหนึ่งเดียวระหว่างสถาปัตยกรรม และสภาพแวดล้อม
อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย
ลัดเลาะผ่านกำแพงเมืองเดิม ที่คงความขลัง ความแท้
เขียวขจี สงบ ตามธรรมดาของธรรมชาติ
วัดนางพญา
วัดเจดีย์เจ็ดแถว
วัดช้างล้อม
ถึงที่หมายแบบไม่เร่งร้อนนัก
วัดพระศรีรัตนมหาธาตุราชวรวิหาร
ทางเดินที่ผ่านบ้านของผู้คน ข้ามสะพานแขวน เหมือนกับจงใจให้ผู้คนเดินผ่านเพื่อซึมซับบรรยากาศ สุดทางสะพานแขวน คือ การเปิด Space ให้เห็นถึงโบราณสถานที่ยังคงยิ่งใหญ่ในบริเวณที่กว้างขวางเมื่อทอดสายตา
ไม่มีหลักฐานการสร้างที่แน่ชัด แต่ดูจากหลักฐานทางโบราณคดีแล้ว วัดนี้มีอายุตั้งแต่สมัยขอมเรืองอำนาจ คือ ประมาณ 800 ปีมาแล้วเป็นอย่างต่ำ ซึ่งความจริงอาจสามารถกำหนดอายุได้มากกว่านี้เพราะที่ตั้งของวัดมีลักษณะ เป็นศูนย์กลางของชุมชนหรือเมืองบริเวณนี้ คือ เมืองเชลียง ซึ่งเป็นเมืองที่มีชีวิตอยู่ร่วมสมัยกับยุคทวารวดี
ลักษณะฐานปรางค์องค์นี้ มีเป็นวิหารคด 3 ชั้น ก่อผนังทึบ และเจาะช่องแสง ฐานปรางค์แผ่ขยายกว้างออกไปทั้ง 3 ด้าน (ด้านหน้าเป็นพระวิหาร) คล้ายสร้างครอบสถูปหรือเจดีย์ที่สำคัญไว้ภายใน มีอายุอยู่ ในช่วงก่อนสุโขทัยตอนต้น
กำแพงวัดเป็นศิลาแลงแท่งกลมขนาดใหญ่ปักเรียงชิดติดกันเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีคานทับหลังกำแพง มีทางเข้าออกด้านหลัง เหนือซุ้มประตูทำเป็นรูปคล้ายหลังคา ยอดเหนือซุ้มขึ้นไปปั้นปูนเป็นรูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร สัดส่วนพอดีกับความสูงของคนในสมัยก่อน
วัดโคกสิงคาราม
โบราณสถานประกอบด้วย เจดีย์ทรงกลมก่อด้วยศิลาแลง ตั้งอยู่บนฐานเดียวกันเช่นเดียวกับวัดศรีสรรเพชญ์ ที่อยุธยา วิหารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าก่อด้วยศิลาแลง ผนังวิหารมีช่องแสง โบสถ์อยู่ทางด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือของวิหาร เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าพื้นภายในโบสถ์ปูด้วยศิลาแลง ภายในโบสถ์มีเจดีย์ทรงกลม ซึ่งมีซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูป รอบ ๆ เจดีย์มีเจดีย์รายตั้งอยู่โดยรอบสี่องค์ กำแพงวัดก่อด้วยศิลาแลงมีอยู่สามด้าน กำแพงด้านทิศใต้ใช้ร่วมกับแนวกำแพงเมืองเชลียง
คราบความเก่า Textureของผนัง การจัดวางระนาบ และเจดีย์ แสดงถึงความแท้ และองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมที่มีคุณค่าให้เราได้ศึกษา
เอ้า !!!!! ล-----ง
พักรับประทานอาหาร ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว
มีรูปแบบสถาปัตยกรรมที่สอดคล้องกับตัวโบราณสถาน สี วัสดุ รูปแบบ ฯลฯ ของอาคาร
วัดกุฎีราย
โบราณสถานที่สำคัญคือมณฑปประกอบอาคาร (มณฑปวิหาร) ก่อด้วยศิลาแลงทั้งหลัง หลังคาใช้ศิลาแลงก่อเหลื่อมเข้าหากันเป็นทรงจั่วเลียนแบบเครือไม้ หน้าจั่วมีรอยบาก เพื่อเชื่อมหลังคาเครื่องไม้ของอาคาร ด้านหน้ามณฑปมีซุ้มประตูรูปโค้งกลีบบัวเป็นทางเข้าสู่ภายใน ซึ่งประดิษฐานพระพุทธรูปประทับนั่ง มณฑปประกอบอาคารหลังเล็ก ตั่งอยู่ทางด้านขวาของมณฑปประกอบอาคารหลังใหญ่ นอกจากนั้นมีกลุ่มเจดีรายอยู่หกองค์ ได้ชื่อว่าเป็นมณฑปที่ทรวดทรง สัดส่วนงดงามมาก
ศูนย์ศึกษาและอนุรักษ์เตาสังคโลก
สถาปัตยกรรมของอาคาร ทั้งภายในภายนอก ได้ประยุกต์กับรูปแบบโบราณสถาน ผสมผสานกับความเป็น Modern มีสัดส่วน และระนาบที่ได้สัดส่วนกัน ตัวอาคารกับระนาบที่เป็นรั้ว และตัว Lanscape มีความเชื่อมผสาน จัดวางอยู่ด้วยกันอย่างลงตัว หลังคามีการนำโครงสร้างสมัยใหม่เข้าประยุกต์ ให้ผลทางประโยชน์ใช้สอยที่ดี และไม่สูญเสียความงาม
พร้อมกับศึกษาความงามทางสถาปัตยกรรม บ้านเรือนของชาวบ้านละแวกนั้น
วัดเจดีย์เก้ายอด
อยู่บนเขาใหญ่ ซึ่งเป็นแนวเขาที่ทอดต่อมาจากเขาพนมเพลิง นอกกำแพงเมืองทางทิศตะวันตก เป็นวัดจำนวน 1 ใน 27 วัด ที่ตั้งอยู่บนสันเขา โบราณสถานสำคัญประกอบด้วยเจดีย์ประธาน มียอดเจดีย์อยู่ข้างบน 9 ยอด ห้องกลางของเรือนธาตุประดิษฐานพระพุทธรูปประทับนั่งเป็นพระประธาน เจดีย์ตั้งอยู่บนเชิงเขาบนชั้นหินธรรมชาติที่ปรับแต่งเป็นพื้นที่ราบแล้วก่อ สร้างเจดีย์และวิหาร กำหนดอายุประมาณพุทธศตวรรษที่ 21
การก่อสร้างโบราณสถาน ที่อยู่บนสันเขา แต่มีจังหวะของอาคาร การตั้งอยู่ ซึ่งสัมพันธ์กับตัวสถานที่ก่อสร้าง มี Step ของอาคาร การถ่ายทอดอาคารไปตามความชัน สภาพที่ตั้งตามธรรมชาติอย่างแท้จริง ก่อให้เกิดความกลมกลืนเป็นหนึ่งเดียวระหว่างสถาปัตยกรรม และสภาพแวดล้อม
อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย
ลัดเลาะผ่านกำแพงเมืองเดิม ที่คงความขลัง ความแท้
เขียวขจี สงบ ตามธรรมดาของธรรมชาติ
วัดนางพญา
วัดเจดีย์เจ็ดแถว
วัดช้างล้อม
สถาปัตย์สัญจร กับ ทริปอาจารย์จิ๋ว ( วันที่ 6 ) : 29/07/53 ลับแล ( อุตรดิตถ์ เมืองที่ห้ามพูดโกหก )
รูปแบบการใช้ชีวิตตอนเช้าแบบเดิมๆ กินข้าวแบบเดิมๆ
ซื้อกับข้าวแบบเดิมๆ ขึ้นรถคันเดิม
ไปยังสถานที่ใหม่ ไม่เหมือนเดิม
ผ่านบ้านเรือนรายทาง ผ่านทุ่งนา
ผ่านวิถีชีวิตแบบชนบท ผ่านท้องถนน
เอ้า !!!!! ล-----ง
เก็บภาพ ศึกษาองค์ประกอบบ้านเรือนรายทาง ระหว่างทางไปลับแล
วัดดอนสัก
ทำบุญถวายหลอดไฟ เนื่องในวันเข้าพรรษา
ที่ชื่อว่าวัดดอนสัก เพราะตั้งอยู่บนเนินดินที่แต่เดิมมีต้นสักขึ้นอยู่มากมาย เชื่อว่าสร้างขึ้นในสมัยอยุธยาตอนปลาย เคยถูกไฟไหม้มาครั้งหนึ่ง ทำให้โบราณวัตถุเสียหายไปเป็นอันมาก เหลือวิหารซึ่งสร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยา สร้างหันหน้าไปทางทิศตะวันออก หลังคามุงกระเบื้องดินเผาลดหลั่นลงเป็น ๓ ชั้น ด้านนอกส่วนหน้าบันประดับด้วยไม้แกะสลักลวดลาย
บานประตูไม้สลักลาย อ่อนช้อยงดงาม ทำด้วยไม้ปรุสลักลวดลายกนกเป็นรูปหงส์และรูปกนก ก้านขดไขว้ลายเทพนมและภาพยักษ์ คันทวย เชิงชาย ก็สลักไม้เป็นรูปพญานาคเช่นกัน เสาแปดเหลี่ยมก่ออิฐฉาบปูน บัวหัวเสาเป็นบัวโถกลีบซ้อน บนฝาผนังด้านใน และผิวเสามีภาพเรื่องชาดกต่าง ๆ แต่ค่อนข้างลบเลือน และมีธรรมาสน์เก่าแก่สลักลายติดกระจกสี
ศาลาด้านข้างมีการใช้โครงสร้างตามแบบปัจจุบัน เผยให้เห็นวัสดุ และความงามทางสถาปัตยกรรมที่มีที่มาจากตัวโครงสร้างจริงๆ
วัดท้องลับแล
ความงามของชุมชนรายรอบ ศาลากลางน้ำ ตลาดเก่า และวัด ที่ยังคงรูปแบบ เต็มไปด้วยกลิ่นอายของวิถีชีวิตของคนในชุมชนอย่างเต็มเปี่ยม
ซื้อกับข้าวแบบเดิมๆ ขึ้นรถคันเดิม
ไปยังสถานที่ใหม่ ไม่เหมือนเดิม
ผ่านบ้านเรือนรายทาง ผ่านทุ่งนา
ผ่านวิถีชีวิตแบบชนบท ผ่านท้องถนน
เอ้า !!!!! ล-----ง
เก็บภาพ ศึกษาองค์ประกอบบ้านเรือนรายทาง ระหว่างทางไปลับแล
วัดดอนสัก
ทำบุญถวายหลอดไฟ เนื่องในวันเข้าพรรษา
ที่ชื่อว่าวัดดอนสัก เพราะตั้งอยู่บนเนินดินที่แต่เดิมมีต้นสักขึ้นอยู่มากมาย เชื่อว่าสร้างขึ้นในสมัยอยุธยาตอนปลาย เคยถูกไฟไหม้มาครั้งหนึ่ง ทำให้โบราณวัตถุเสียหายไปเป็นอันมาก เหลือวิหารซึ่งสร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยา สร้างหันหน้าไปทางทิศตะวันออก หลังคามุงกระเบื้องดินเผาลดหลั่นลงเป็น ๓ ชั้น ด้านนอกส่วนหน้าบันประดับด้วยไม้แกะสลักลวดลาย
บานประตูไม้สลักลาย อ่อนช้อยงดงาม ทำด้วยไม้ปรุสลักลวดลายกนกเป็นรูปหงส์และรูปกนก ก้านขดไขว้ลายเทพนมและภาพยักษ์ คันทวย เชิงชาย ก็สลักไม้เป็นรูปพญานาคเช่นกัน เสาแปดเหลี่ยมก่ออิฐฉาบปูน บัวหัวเสาเป็นบัวโถกลีบซ้อน บนฝาผนังด้านใน และผิวเสามีภาพเรื่องชาดกต่าง ๆ แต่ค่อนข้างลบเลือน และมีธรรมาสน์เก่าแก่สลักลายติดกระจกสี
ศาลาด้านข้างมีการใช้โครงสร้างตามแบบปัจจุบัน เผยให้เห็นวัสดุ และความงามทางสถาปัตยกรรมที่มีที่มาจากตัวโครงสร้างจริงๆ
วัดท้องลับแล
ความงามของชุมชนรายรอบ ศาลากลางน้ำ ตลาดเก่า และวัด ที่ยังคงรูปแบบ เต็มไปด้วยกลิ่นอายของวิถีชีวิตของคนในชุมชนอย่างเต็มเปี่ยม
สถาปัตย์สัญจร กับ ทริปอาจารย์จิ๋ว ( วันที่ 5 ) : 28/07/53 สุโขทัย ( อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย )
เช้าที่ครึ้มฟ้า ครึ้มฝน แต่ไม่อบอ้าว
พื้นที่แรกในอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย
เขื่อนสรีดภงส์
ทำนบพระร่วง ภูมิปัญญาของคนสมัยโบราณในการสร้างเขื่อนดิน สำหรับเก็บกักน้ำไว้ภายในหุบเขา และขนระบายน้ำเข้าไปใช้ภายในตัวเมือง และบริเวณใกล้เคียงตัวเมือง นอกจากนี้ภายในตัวเมืองยังมีการขุดสระน้ำที่เรียกว่า ตราพัง เพื่อเก็บกักน้ำไว้ใช้สอย
วัดมังกร
เป็นเหมือนวัดป่า ที่อยู่รายรอบนอกเมืองเก่าสุโขทัย ใช้ศิลาแลงในการก่อสร้าง
วัดมหาธาตุ
ตั้งอยู่ในใจกลางเมือง ตามแบบแผนความเชื่อในเรื่องจักรวาลแบบ อินเดียโบราณ เป็นวัดที่มีความสำคัญประกอบด้วยเจดีย์ ประธาน วิหาร มณฑป โบสถ์ และเจดีย์รายจำนวนมากถึง ๒๐๐ องค์ นับเป็นวัดสำคัญประจำกรุงสุโขทัย มีพระเจดีย์มหาธาตุ ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ศิลปะแบบสุโขทัยแท้ ตั้งเป็นเจดีย์ประธาน
การเดินเข้าสู่วิหารหลัก จะถูกบังคับทางเดินด้านหน้าที่ทอดเข้าสู่หน้าวิหาร และด้วย Scale ของวิหาร เราจะถูกนำสายตา และเชื้อเชิญให้เข้าไปตำแหน่งนั้น เป็น Approach ที่นำความรู้สึกให้เป็นเช่นนั้นจริงๆ
พระอัฏฐารศ ที่มีขนาดใหญ่สูงราว ๑๘ ศอก ประดิษฐานภายในมณฑปที่ขนาบอยู่สองข้างของเจดีย์ประธาน
ศูนย์บริการนักท่องเที่ยวอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย
ศูนย์บริการที่จำลองรูปแบบของอุทยานประวัติศาสตร์ นำรูปลักษณ์ที่สำคัญบางอย่าง มาใช้ในการออกแบบเพื่อให้สอดคล้อง กลมกลืน กับอุทยาน ด้วยวัสดุก่อสร้างแบบอิฐมอญ เจาะผนังเป็นเส้นสี่เหลี่ยมผืนผ้ายาว หลังคาแบบจั่ว
วัดพระพายหลวง
วัดพระพายหลวงเดิมเป็นเทวสถานของศาสนาพราหมณ์ ในสมัยของเรืองอำนาจ เนื่องจากพบชิ้นส่วนของเทวรูปและฐานศิวลึงค์ต่อมาปรับเปลี่ยนมาเป็นวัดในพระ พุทธศาสนาแบบมหายานในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๘
ผังบริเวณวัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีคูน้ำล้อมรอบ 3 ชั้น คูชั้นนอกเรียก คูแม่โจน มีปรางค์ศิลาแลง 3 องค์เป็นประธานของวัด องค์กลางและองค์ด้านทิศใต้พังเหลือแต่ฐาน เหลือเพียงองค์ด้านเหนือ หน้าบันประดับลายปูนปั้นเป็นศิลปะสมัยสุโขทัยตอนต้นที่งดงามมาก สันนิษฐานว่าสร้างในราวพุทธศตวรรษที่ 18 เป็นศิลปะขอมสมัยบายน (รัชสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7) บริเวณหน้าปรางค์มีวิหารที่เหลือเพียงเสาใหญ่ศิลาแลง ถาวรวัตถุที่สร้างเสริมต่อขยายออกไปทางด้านหน้าของพระปรางค์สามองค์ เช่น เจดีย์เหลี่ยมที่เหลือเพียงยอดปรักหักพัง และมณฑปประดิษฐานพระพุทธรูปสี่อิริยาบท ได้แก่ นั่ง ยืน เดิน และนอน ปัจจุบันปรักหักพังลงเกือบหมด
วัดศรีชุม
วัดดศรีชุมมีการวางผังที่แปลกกว่าวัดทั่วไป ที่ใช้มณฑปที่มีพระพุทธรูปขนาดใหญ่ประดิษฐานเป็นประธานของวัด และมีพระวิหารต่อออกมาแบบที่เป็นที่นิยมในสมัยนั้น ส่วนของหลังคายังไม่อาจสรุปได้ว่าใช้การก่อสร้างแบบใด
Space ของลานกว้างเบื้องหน้าวัด และต้นไม้หน้าวิหาร เป็นองค์ประกอบที่ประสานและส่งเสริมให้ตัวสถาปัตยกรรมมีความงาม และคุณค่า
พระอจนะ พระประธาน Scale ที่ใหญ่ และตั้งประจันเมื่อคนเข้าสักการะ ให้ความรู้สึกสูงส่ง เปี่ยมด้วยพุทธานุภาพ ก่อให้เกิดจิตศรัทธา เคารพ และมีผลกับจิตใจอย่างมาก
วัดศรีสวาย
เดิมเป็นเทวสถานในศาสนาพราหมณ์ ลักษณะเป็นปรางค์สามยอดแบบขอม ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของวัดมหาธาตุ มีคูน้ำล้อมรอบปรางค์สามองค์ โบราณสถานดังกล่าวนี้มีที่มาจากทรงปราสาทแบบขอม แต่ได้รับการดัดแปลงแตกต่างจากต้นแบบ เช่นส่วนประดับของปราสาทขอมที่เรียกว่า บันแถลง กลายเป็นรูปกลีบขนุน และปูนปั้นประดับกลีบขนุนเป็นรูปครุฑยุดนาคและเทวดา ปรางค์วัดศรีสวายจึงแตกต่างจากปรางค์สมัยกรุงศรีอยุธยาซึ่งมีต้นแบบจาก ปรางค์ในศิลปะขอมและคล้ายคลึงแบบขอมมากกว่าปรางค์ในแบบของช่างสุโขทัย
เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสเมืองสุโขทัย ทรงพบรูปพระอิศวรและและโบราณวัตถุหินจำหลักเป็นทับหลังรูปพระนารายณ์บรรทมสิ นธุ์ รูปพระนารายณ์สี่กร และชิ้นส่วนของเทวรูปและศิวลึงค์ทำด้วยสำริด จึงทรงสันนิษฐานว่า วัดนี้คงเป็นสถานที่พวกพราหมณ์ใช้ทำพิธีโล้ชิงช้า (ตรียัมปวาย) แต่ต่อมาเมื่อคนไทยเข้ามาครอบครองกรุงสุโขทัย วัดนี้จึงถูกดัดแปลงให้เป็นวัดทางพระพุทธศาสนา
ส่วนสำคัญคือ Texture และจังหวะของการเล่นรูปด้าน ที่มีความจัดเจนในองค์ประกอบ การจัดวางศิลาแลง คราบของความเก่าในวัสดุ การเจาะช่องเปิด ความลดหลั่นของระนาบตั้งและนอน ที่ก่อเป็นสถาปัตยกรรมขึ้นมา ทำให้อาคารมีความงาม และคุณค่า ตามรูปลักษณ์ที่ปรากฏอยู่
เอ้า !!!!! ล-----ง
ซึมซับ และเรียนรู้ บ้านของชาวบ้านที่มีองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมอย่างเด่นชัด และเมื่อนำความรู้ทางสถาปัตยกรรมไปจับต้อง
แล้วมีคุณค่า
พื้นที่แรกในอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย
เขื่อนสรีดภงส์
ทำนบพระร่วง ภูมิปัญญาของคนสมัยโบราณในการสร้างเขื่อนดิน สำหรับเก็บกักน้ำไว้ภายในหุบเขา และขนระบายน้ำเข้าไปใช้ภายในตัวเมือง และบริเวณใกล้เคียงตัวเมือง นอกจากนี้ภายในตัวเมืองยังมีการขุดสระน้ำที่เรียกว่า ตราพัง เพื่อเก็บกักน้ำไว้ใช้สอย
วัดมังกร
เป็นเหมือนวัดป่า ที่อยู่รายรอบนอกเมืองเก่าสุโขทัย ใช้ศิลาแลงในการก่อสร้าง
วัดมหาธาตุ
ตั้งอยู่ในใจกลางเมือง ตามแบบแผนความเชื่อในเรื่องจักรวาลแบบ อินเดียโบราณ เป็นวัดที่มีความสำคัญประกอบด้วยเจดีย์ ประธาน วิหาร มณฑป โบสถ์ และเจดีย์รายจำนวนมากถึง ๒๐๐ องค์ นับเป็นวัดสำคัญประจำกรุงสุโขทัย มีพระเจดีย์มหาธาตุ ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ศิลปะแบบสุโขทัยแท้ ตั้งเป็นเจดีย์ประธาน
การเดินเข้าสู่วิหารหลัก จะถูกบังคับทางเดินด้านหน้าที่ทอดเข้าสู่หน้าวิหาร และด้วย Scale ของวิหาร เราจะถูกนำสายตา และเชื้อเชิญให้เข้าไปตำแหน่งนั้น เป็น Approach ที่นำความรู้สึกให้เป็นเช่นนั้นจริงๆ
พระอัฏฐารศ ที่มีขนาดใหญ่สูงราว ๑๘ ศอก ประดิษฐานภายในมณฑปที่ขนาบอยู่สองข้างของเจดีย์ประธาน
ศูนย์บริการนักท่องเที่ยวอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย
ศูนย์บริการที่จำลองรูปแบบของอุทยานประวัติศาสตร์ นำรูปลักษณ์ที่สำคัญบางอย่าง มาใช้ในการออกแบบเพื่อให้สอดคล้อง กลมกลืน กับอุทยาน ด้วยวัสดุก่อสร้างแบบอิฐมอญ เจาะผนังเป็นเส้นสี่เหลี่ยมผืนผ้ายาว หลังคาแบบจั่ว
วัดพระพายหลวง
วัดพระพายหลวงเดิมเป็นเทวสถานของศาสนาพราหมณ์ ในสมัยของเรืองอำนาจ เนื่องจากพบชิ้นส่วนของเทวรูปและฐานศิวลึงค์ต่อมาปรับเปลี่ยนมาเป็นวัดในพระ พุทธศาสนาแบบมหายานในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๘
ผังบริเวณวัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีคูน้ำล้อมรอบ 3 ชั้น คูชั้นนอกเรียก คูแม่โจน มีปรางค์ศิลาแลง 3 องค์เป็นประธานของวัด องค์กลางและองค์ด้านทิศใต้พังเหลือแต่ฐาน เหลือเพียงองค์ด้านเหนือ หน้าบันประดับลายปูนปั้นเป็นศิลปะสมัยสุโขทัยตอนต้นที่งดงามมาก สันนิษฐานว่าสร้างในราวพุทธศตวรรษที่ 18 เป็นศิลปะขอมสมัยบายน (รัชสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7) บริเวณหน้าปรางค์มีวิหารที่เหลือเพียงเสาใหญ่ศิลาแลง ถาวรวัตถุที่สร้างเสริมต่อขยายออกไปทางด้านหน้าของพระปรางค์สามองค์ เช่น เจดีย์เหลี่ยมที่เหลือเพียงยอดปรักหักพัง และมณฑปประดิษฐานพระพุทธรูปสี่อิริยาบท ได้แก่ นั่ง ยืน เดิน และนอน ปัจจุบันปรักหักพังลงเกือบหมด
วัดศรีชุม
วัดดศรีชุมมีการวางผังที่แปลกกว่าวัดทั่วไป ที่ใช้มณฑปที่มีพระพุทธรูปขนาดใหญ่ประดิษฐานเป็นประธานของวัด และมีพระวิหารต่อออกมาแบบที่เป็นที่นิยมในสมัยนั้น ส่วนของหลังคายังไม่อาจสรุปได้ว่าใช้การก่อสร้างแบบใด
Space ของลานกว้างเบื้องหน้าวัด และต้นไม้หน้าวิหาร เป็นองค์ประกอบที่ประสานและส่งเสริมให้ตัวสถาปัตยกรรมมีความงาม และคุณค่า
พระอจนะ พระประธาน Scale ที่ใหญ่ และตั้งประจันเมื่อคนเข้าสักการะ ให้ความรู้สึกสูงส่ง เปี่ยมด้วยพุทธานุภาพ ก่อให้เกิดจิตศรัทธา เคารพ และมีผลกับจิตใจอย่างมาก
วัดศรีสวาย
เดิมเป็นเทวสถานในศาสนาพราหมณ์ ลักษณะเป็นปรางค์สามยอดแบบขอม ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของวัดมหาธาตุ มีคูน้ำล้อมรอบปรางค์สามองค์ โบราณสถานดังกล่าวนี้มีที่มาจากทรงปราสาทแบบขอม แต่ได้รับการดัดแปลงแตกต่างจากต้นแบบ เช่นส่วนประดับของปราสาทขอมที่เรียกว่า บันแถลง กลายเป็นรูปกลีบขนุน และปูนปั้นประดับกลีบขนุนเป็นรูปครุฑยุดนาคและเทวดา ปรางค์วัดศรีสวายจึงแตกต่างจากปรางค์สมัยกรุงศรีอยุธยาซึ่งมีต้นแบบจาก ปรางค์ในศิลปะขอมและคล้ายคลึงแบบขอมมากกว่าปรางค์ในแบบของช่างสุโขทัย
เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสเมืองสุโขทัย ทรงพบรูปพระอิศวรและและโบราณวัตถุหินจำหลักเป็นทับหลังรูปพระนารายณ์บรรทมสิ นธุ์ รูปพระนารายณ์สี่กร และชิ้นส่วนของเทวรูปและศิวลึงค์ทำด้วยสำริด จึงทรงสันนิษฐานว่า วัดนี้คงเป็นสถานที่พวกพราหมณ์ใช้ทำพิธีโล้ชิงช้า (ตรียัมปวาย) แต่ต่อมาเมื่อคนไทยเข้ามาครอบครองกรุงสุโขทัย วัดนี้จึงถูกดัดแปลงให้เป็นวัดทางพระพุทธศาสนา
ส่วนสำคัญคือ Texture และจังหวะของการเล่นรูปด้าน ที่มีความจัดเจนในองค์ประกอบ การจัดวางศิลาแลง คราบของความเก่าในวัสดุ การเจาะช่องเปิด ความลดหลั่นของระนาบตั้งและนอน ที่ก่อเป็นสถาปัตยกรรมขึ้นมา ทำให้อาคารมีความงาม และคุณค่า ตามรูปลักษณ์ที่ปรากฏอยู่
เอ้า !!!!! ล-----ง
ซึมซับ และเรียนรู้ บ้านของชาวบ้านที่มีองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมอย่างเด่นชัด และเมื่อนำความรู้ทางสถาปัตยกรรมไปจับต้อง
แล้วมีคุณค่า
สถาปัตย์สัญจร กับ ทริปอาจารย์จิ๋ว ( วันที่ 4 ) : 27/07/53 เขลางค์นคร ( นครลำปาง เมืองแห่งรถม้า ) 3.
เช้าสุดท้ายในลำปาง ข้าวซอยครั้งสุดท้ายในลำปาง
ครั้งหนึ่งในลำปาง
และอีกสถานที่หนึ่งในลำปาง
วัดปงสนุก ( เหนือ-ใต้ )
มี สถานที่สำคัญในวัดนั้นคือ “ม่อนดอย” ที่ชาวบ้านเรียกกันว่าวัดบน อันเปรียบเป็นเนินเขาพระสุเมรุศูนย์กลางแห่งจักรวาล ซึ่งเป็นที่ตั้งของวิหารพระเจ้าพันองค์อันศักดิ์สิทธิ์ ตัววิหารได้มีการผสมผสานระหว่างศิลปกรรมล้านนา พม่า และจีน อย่างลงตัว และหลงเหลืออยู่เพียงแห่งเดียวในประเทศไทย ในบริเวณยังเป็นที่ประดิษฐานของพระธาตุศรีจอมไคล
ทางขึ้นเป็นบันไดตัวนาค
บริเวณชั้นระหว่างหลังคางดงามด้วยงาน แกะสลักรูปกินนร สัตว์หิมพานต์ครึ่งคนครึ่งนก แต่งกายแบบราชสำนักพม่า และนกยูง สัญลักษณ์ของกษัตริย์ ประดับช่องหน้าต่างด้วยลายฉลุรูปม้า วัว สิงห์ สัตว์ประจำทิศในพุทธศาสนา รวมถึงนรสิงห์เทินหม้อปูรณฆฏะ สัญลักษณ์แห่งความอุดมสมบูรณ์ ขนาบด้วยภาพชาดกเขียนสีบนพื้นไม้ใส่กรอบกระจก แสดงเรื่องการบำเพ็ญเพียรของพระพุทธเจ้า
เสาหงส์ มีความสำคัญด้านวัฒธรรมประเพณี ชาวบ้านเล่าสืบมาว่าพม่าเคยมาตั้งทัพที่วัดแห่งนี้จึง
มีการต้อง เสาหงส์ (เสาไม้สูง มีรูปหงส์ที่ปลายเสา) ซึ่งถือว่าเป็นตัวแทนสัญลักษณ์ของอาณาจักรมอญ
อีกครั้งหนึ่ง กับอีกวัดหนึ่ง
กับอีกศิลปะแบบพม่า ที่วิจิตรงดงามด้วยลวดลายกระจก
วัดศรีรองเมือง
วัดศรีรองเมือง เป็นวัดที่มีความสำคัญทั้งทางด้านประวัติศาสตร์ มีรูปแบบสถาปัตยกรรมที่โดดเด่น มีรูปลักษณ์การก่อสร้างในรูปแบบของพม่าที่สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2448 ในสมัยที่ลำปางเป็นศูนย์กลางการค้าขาย การทำป่าไม้ โดยคหบดีที่รับจ้างทำไม้ให้ฝรั่งชาติอังกฤษ ที่ได้สัมปทานการทำไม้จากรัฐบาลไทยแทบจะทั่วภาคเหนือ ซึ่งพ่อเฒ่าอินต๊ะ ศรีรองเมือง ร่วมกับชาวบ้านบริจาคที่ดิน จัดหาวัตถุมาก่อสร้างจนแล้วเสร็จ วัดจึงตั้งชื่อตามนามสกุลของผู้ริ่เริ่มสร้างว่า ศรีรองเมือง วิหารเก่าแก่ร้อยกว่าปี
ตัววิหารสร้างด้วยไม้สัก หลังคาจั่วซ้อนกันเป็นซุ้มเรือนยอด เป็นกลุ่มของชั้นหลังคา สวยงามตามแบบศิลปะพม่า มีลายฉลุบนสังกะสี ใช้ประดับบนจั่ว และเชิงชายหลังคา เพิ่มความอ่อนช้อย และสง่างามให้วิหาร เสาไม้ตกแต่งด้วยศิลปะการปั้นรักเป็นลวดลายเครือดอกไม้ ประดับด้วยกระจกสี เฉพาะเสาหน้าพระประธาน จะปั้นรักเป็นรูปเทพารักษ์ คน ยักษ์ วานรและสัตว์ป่าให้เหมือนในป่าหินมพานต์
อีกครั้ง กับภาพสุดท้ายในลำปาง
เป้าหมายต่อไป
มุ่งหน้าการเดินทางสู่สุโขทัย
เอ้า !!!!! ล-----ง
ระหว่างการเดินทาง ที่อบอ้าวตอนบ่าย
ผ่านจังหวัดแพร่
บ้านแม่จอก อ.วังชิ้น คือเป้าหมายระหว่างการเดินทาง
ความงามของบ้านพื้นถิ่น จุด เส้น ระนาบ จังหวะ ฯลฯ องค์ประกอบทางสถาปัตยกรรม ที่ปรากฏให้เราได้ตีความ และให้เราได้ค้นหา
ฝนตกหนัก พัดพาความชุ่มเย็น และเหน็บหนาวมาให้
เข้าสู่สุโขทัยจริงๆแล้วสินะ
ครั้งหนึ่งในลำปาง
และอีกสถานที่หนึ่งในลำปาง
วัดปงสนุก ( เหนือ-ใต้ )
มี สถานที่สำคัญในวัดนั้นคือ “ม่อนดอย” ที่ชาวบ้านเรียกกันว่าวัดบน อันเปรียบเป็นเนินเขาพระสุเมรุศูนย์กลางแห่งจักรวาล ซึ่งเป็นที่ตั้งของวิหารพระเจ้าพันองค์อันศักดิ์สิทธิ์ ตัววิหารได้มีการผสมผสานระหว่างศิลปกรรมล้านนา พม่า และจีน อย่างลงตัว และหลงเหลืออยู่เพียงแห่งเดียวในประเทศไทย ในบริเวณยังเป็นที่ประดิษฐานของพระธาตุศรีจอมไคล
ทางขึ้นเป็นบันไดตัวนาค
บริเวณชั้นระหว่างหลังคางดงามด้วยงาน แกะสลักรูปกินนร สัตว์หิมพานต์ครึ่งคนครึ่งนก แต่งกายแบบราชสำนักพม่า และนกยูง สัญลักษณ์ของกษัตริย์ ประดับช่องหน้าต่างด้วยลายฉลุรูปม้า วัว สิงห์ สัตว์ประจำทิศในพุทธศาสนา รวมถึงนรสิงห์เทินหม้อปูรณฆฏะ สัญลักษณ์แห่งความอุดมสมบูรณ์ ขนาบด้วยภาพชาดกเขียนสีบนพื้นไม้ใส่กรอบกระจก แสดงเรื่องการบำเพ็ญเพียรของพระพุทธเจ้า
เสาหงส์ มีความสำคัญด้านวัฒธรรมประเพณี ชาวบ้านเล่าสืบมาว่าพม่าเคยมาตั้งทัพที่วัดแห่งนี้จึง
มีการต้อง เสาหงส์ (เสาไม้สูง มีรูปหงส์ที่ปลายเสา) ซึ่งถือว่าเป็นตัวแทนสัญลักษณ์ของอาณาจักรมอญ
อีกครั้งหนึ่ง กับอีกวัดหนึ่ง
กับอีกศิลปะแบบพม่า ที่วิจิตรงดงามด้วยลวดลายกระจก
วัดศรีรองเมือง
วัดศรีรองเมือง เป็นวัดที่มีความสำคัญทั้งทางด้านประวัติศาสตร์ มีรูปแบบสถาปัตยกรรมที่โดดเด่น มีรูปลักษณ์การก่อสร้างในรูปแบบของพม่าที่สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2448 ในสมัยที่ลำปางเป็นศูนย์กลางการค้าขาย การทำป่าไม้ โดยคหบดีที่รับจ้างทำไม้ให้ฝรั่งชาติอังกฤษ ที่ได้สัมปทานการทำไม้จากรัฐบาลไทยแทบจะทั่วภาคเหนือ ซึ่งพ่อเฒ่าอินต๊ะ ศรีรองเมือง ร่วมกับชาวบ้านบริจาคที่ดิน จัดหาวัตถุมาก่อสร้างจนแล้วเสร็จ วัดจึงตั้งชื่อตามนามสกุลของผู้ริ่เริ่มสร้างว่า ศรีรองเมือง วิหารเก่าแก่ร้อยกว่าปี
ตัววิหารสร้างด้วยไม้สัก หลังคาจั่วซ้อนกันเป็นซุ้มเรือนยอด เป็นกลุ่มของชั้นหลังคา สวยงามตามแบบศิลปะพม่า มีลายฉลุบนสังกะสี ใช้ประดับบนจั่ว และเชิงชายหลังคา เพิ่มความอ่อนช้อย และสง่างามให้วิหาร เสาไม้ตกแต่งด้วยศิลปะการปั้นรักเป็นลวดลายเครือดอกไม้ ประดับด้วยกระจกสี เฉพาะเสาหน้าพระประธาน จะปั้นรักเป็นรูปเทพารักษ์ คน ยักษ์ วานรและสัตว์ป่าให้เหมือนในป่าหินมพานต์
อีกครั้ง กับภาพสุดท้ายในลำปาง
เป้าหมายต่อไป
มุ่งหน้าการเดินทางสู่สุโขทัย
เอ้า !!!!! ล-----ง
ระหว่างการเดินทาง ที่อบอ้าวตอนบ่าย
ผ่านจังหวัดแพร่
บ้านแม่จอก อ.วังชิ้น คือเป้าหมายระหว่างการเดินทาง
ความงามของบ้านพื้นถิ่น จุด เส้น ระนาบ จังหวะ ฯลฯ องค์ประกอบทางสถาปัตยกรรม ที่ปรากฏให้เราได้ตีความ และให้เราได้ค้นหา
ฝนตกหนัก พัดพาความชุ่มเย็น และเหน็บหนาวมาให้
เข้าสู่สุโขทัยจริงๆแล้วสินะ
สถาปัตย์สัญจร กับ ทริปอาจารย์จิ๋ว ( วันที่ 3 ) : 26/07/53 เขลางค์นคร ( นครลำปาง เมืองแห่งรถม้า ) 2.
อีกหนึ่งเช้า อีกหนึ่งวัน ในลำปาง
อีกหนึ่งทางเข้า อีกหนึ่งเขตอาราม แต่มีถึงสองวัด
อีกหนึ่งวัดที่แปลก เข้าทางด้านหลัง แต่มีลานรับผู้คน พร้อมทางเดินที่นำ สายตา และวิถีให้คนเดินเข้าสู่ตัววิหารได้อย่างไม่รู้สึกแปลกแยก
วัดสุชาดาราม
วัดสุชาดารามเป็นวัดร้าง ตั้งอยู่บริเวณใกล้เคียงกับวัดพระแก้วดอนเต้า เมืองลำปาง องค์ประกอบในเขตพุทธาวาสยังอยู่ครบ ทั้งพระธาตุ วิหาร และอุโบสถ
วิหาร ขนาดค่อนข้างใหญ่ หลังคา 3 ชั้น 2 ตับ ระนาบหลังคาอ่อนโค้งเล็กน้อย
วางสิงห์คู่ไว้ในตำแหน่งที่นิยมกันในเมืองลำปาง คือวางชิดตัวอาคารและยกแท่นให้สูงระดับคอ
ลวดลายประดับเป็นของเดิม สกุลช่างลำปาง มีลักษณะเป็นทรงกลมร้อยประดับช่องเปิดอาคาร
ลัดเลาะเลียบเคียงทางเดิน
อีกวัดที่อยู่ใกล้ และสวยงามไม่แพ้กัน
วัดพระแก้วดอนเต้า
มีพระเจดีย์ใหญ่ทรงล้านนา มีมณฑปยอดปราสาทแบบพม่าที่ประณีตงดงาม มีพระวิหารทรงล้านนาที่มีรูปทรงงดงาม มีลวดลายแกะสลักไม้ที่บานหน้าต่าง ข้างในมีจิตรกรรมฝาผนังที่มีคุณค่าทางศิลปะ และประวัติศาสตร์ มีพระอุโบสถทรงล้านนาขนาดกะทัดรัด มีสัดส่วนสวยงาม
เคยประดิษฐานพระแก้วมรกต ก่อนไปประดิษฐานที่เวียงจันทร์ และรัชกาลที่1 จึงได้อัญเชิญมาที่กรุงธนบุรี และรัตนโกสินทร์ตามลำดับ
เอ้า !!!!! ล-----ง
ระหว่างเดินทาง ไปแจ้ซ้อน
เปลี่ยนบรรยากาศ กับบ้านพื้นถิ่นที่มีกลิ่นทรงยุโรปผสมผสานอยู่
ทิวไม้ ( ต้นจั๋ง ) ที่บดบังสถาปัตยกรรมไว้อยู่ คืออีกวัดใหม่ ในรูปแบบเก่า
วัดข่วงกอม
ต.แจ้ซ้อน อ.เมืองปาน จ.ลำปาง
วัดเก่าแก่อายุกว่า 200 ปี สร้างโดยครูบาศรีวิชัย
เดิมมีสภาพทรุดโทรมเกินกว่าจะซ่อมแซม ชาวเมืองปาน ช่างฝีมือท้องถิ่นและสถาปนิกของการเคหะแห่งชาติ จึงร่วมกันสร้างขึ้นใหม่
ดร.วทัญญู ณ ถลาง อดีตผู้ว่าคนแรกของการเคหะแห่งชาติ
ออกแบบวัดข่วงกอมใหม่ทั้งหมด ตั้งแต่โบสถ์ ศาลาราย หมู่กุฏิ ซุ้มประตูโขงและภูมิทัศน์แวดล้อม โดยยังคงเอกลักษณ์สถาปัตยกรรมล้านนาเดิมของท้องถิ่น
ก่อสร้างด้วยวัสดุพื้นบ้านและภูมิปัญญาท้องถิ่นนำมาประยุกต์กับเทคโนโลยีสมัยใหม่
เห็นแล้วประหวัดนึกถึง Frank Lloyd Wright ตามที่อาจารย์จิ๋วบอกจริงๆ วัดสุก่อสร้างที่กลมกลืนกับธรรมชาติ ไม่ขัดกับภูมิทัศน์ ความงามตามแบบชนบท สภาพรายล้อมที่เป็นอยู่
คงความสง่างาม “ สง่างาม ” จริงๆ
กุฏิที่วางอยู่หน้าโบสถ์สวยงาม แต่น่าเสียดายที่วางผิดหลักทางพระพุทธศาสนา ซึ่งควรจะอยู่ด้านหลังจึงจะสมควรกว่า
หลังจากนั้นกล้องก็แบตฯหมด น่าเสียดายไม่ได้บันทึกบรรยากาศ อุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อน
บ่อน้ำพุร้อน ที่ร้อนจริงๆ
และสบายจริงๆ
อีกหนึ่งทางเข้า อีกหนึ่งเขตอาราม แต่มีถึงสองวัด
อีกหนึ่งวัดที่แปลก เข้าทางด้านหลัง แต่มีลานรับผู้คน พร้อมทางเดินที่นำ สายตา และวิถีให้คนเดินเข้าสู่ตัววิหารได้อย่างไม่รู้สึกแปลกแยก
วัดสุชาดาราม
วัดสุชาดารามเป็นวัดร้าง ตั้งอยู่บริเวณใกล้เคียงกับวัดพระแก้วดอนเต้า เมืองลำปาง องค์ประกอบในเขตพุทธาวาสยังอยู่ครบ ทั้งพระธาตุ วิหาร และอุโบสถ
วิหาร ขนาดค่อนข้างใหญ่ หลังคา 3 ชั้น 2 ตับ ระนาบหลังคาอ่อนโค้งเล็กน้อย
วางสิงห์คู่ไว้ในตำแหน่งที่นิยมกันในเมืองลำปาง คือวางชิดตัวอาคารและยกแท่นให้สูงระดับคอ
ลวดลายประดับเป็นของเดิม สกุลช่างลำปาง มีลักษณะเป็นทรงกลมร้อยประดับช่องเปิดอาคาร
ลัดเลาะเลียบเคียงทางเดิน
อีกวัดที่อยู่ใกล้ และสวยงามไม่แพ้กัน
วัดพระแก้วดอนเต้า
มีพระเจดีย์ใหญ่ทรงล้านนา มีมณฑปยอดปราสาทแบบพม่าที่ประณีตงดงาม มีพระวิหารทรงล้านนาที่มีรูปทรงงดงาม มีลวดลายแกะสลักไม้ที่บานหน้าต่าง ข้างในมีจิตรกรรมฝาผนังที่มีคุณค่าทางศิลปะ และประวัติศาสตร์ มีพระอุโบสถทรงล้านนาขนาดกะทัดรัด มีสัดส่วนสวยงาม
เคยประดิษฐานพระแก้วมรกต ก่อนไปประดิษฐานที่เวียงจันทร์ และรัชกาลที่1 จึงได้อัญเชิญมาที่กรุงธนบุรี และรัตนโกสินทร์ตามลำดับ
เอ้า !!!!! ล-----ง
ระหว่างเดินทาง ไปแจ้ซ้อน
เปลี่ยนบรรยากาศ กับบ้านพื้นถิ่นที่มีกลิ่นทรงยุโรปผสมผสานอยู่
ทิวไม้ ( ต้นจั๋ง ) ที่บดบังสถาปัตยกรรมไว้อยู่ คืออีกวัดใหม่ ในรูปแบบเก่า
วัดข่วงกอม
ต.แจ้ซ้อน อ.เมืองปาน จ.ลำปาง
วัดเก่าแก่อายุกว่า 200 ปี สร้างโดยครูบาศรีวิชัย
เดิมมีสภาพทรุดโทรมเกินกว่าจะซ่อมแซม ชาวเมืองปาน ช่างฝีมือท้องถิ่นและสถาปนิกของการเคหะแห่งชาติ จึงร่วมกันสร้างขึ้นใหม่
ดร.วทัญญู ณ ถลาง อดีตผู้ว่าคนแรกของการเคหะแห่งชาติ
ออกแบบวัดข่วงกอมใหม่ทั้งหมด ตั้งแต่โบสถ์ ศาลาราย หมู่กุฏิ ซุ้มประตูโขงและภูมิทัศน์แวดล้อม โดยยังคงเอกลักษณ์สถาปัตยกรรมล้านนาเดิมของท้องถิ่น
ก่อสร้างด้วยวัสดุพื้นบ้านและภูมิปัญญาท้องถิ่นนำมาประยุกต์กับเทคโนโลยีสมัยใหม่
เห็นแล้วประหวัดนึกถึง Frank Lloyd Wright ตามที่อาจารย์จิ๋วบอกจริงๆ วัดสุก่อสร้างที่กลมกลืนกับธรรมชาติ ไม่ขัดกับภูมิทัศน์ ความงามตามแบบชนบท สภาพรายล้อมที่เป็นอยู่
คงความสง่างาม “ สง่างาม ” จริงๆ
กุฏิที่วางอยู่หน้าโบสถ์สวยงาม แต่น่าเสียดายที่วางผิดหลักทางพระพุทธศาสนา ซึ่งควรจะอยู่ด้านหลังจึงจะสมควรกว่า
หลังจากนั้นกล้องก็แบตฯหมด น่าเสียดายไม่ได้บันทึกบรรยากาศ อุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อน
บ่อน้ำพุร้อน ที่ร้อนจริงๆ
และสบายจริงๆ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)