Director : Palmer & Turner (Thailand) Ltd.
1. อยากทราบประวัติส่วนตัวสักเล็กน้อยของพี่ตั้มครับ พี่เข้าเรียนปีไหน จบแล้วพี่ทำงานเลยหรือเปล่า หรือพี่ไปต่อโท ที่ไหน ทำงานอะไรที่ไหนบ้างครับ?
: พี่เข้าเรียนประมาณปี 1988 ก็ประมาณรุ่นก่อนอ.ไกรทอง สัก1-2 ปี เสร็จแล้วพอเรียนจบก็เข้าทำงานที่บริษัท Design Develop Co., Ltd. ทำงานอยู่ 4 ปี ก็ทำไปหลายตึกเหมือนกัน จากนั้นพี่ก็ไปเรียนต่อที่อเมริกา พี่เรียนโท Master Of Science In Business Administration เรียนจบเสร็จแล้วก็ไปเรียนโท Master Architecture ,University Of Illinois เรียนจบก็กลับมาทำงานต่อที่ Design Develop อีกครึ่งปี ก็มาทำที่ P&T ( Palmer&Turner (Thailand) Ltd. ) ก็ทำตั้งแต่ประมาณปี 1995 จนถึงปัจจุบัน
ตำแหน่งเป็น Director ส่วนที่รับผิดชอบดูแลก็คือ ทุกอย่าง คือดูแลตั้งแต่ในส่วนของการออกแบบ ดูจนโครงการสร้างแล้วเสร็จ แล้วก็ดูในส่วนของ office ด้วย
2.งานและผล งานของพี่ตั้ม ที่คิดว่าเป็นตัวอย่างที่ดีในการทำงาน?
: ก็คงเป็นที่ The Park Chidlom จริงๆแล้วไม่ใช่งานที่พี่ทำคนเดียว ก็คือมีทีมงานช่วยกันทำ คือจุดเริ่มต้นมันมาจากการที่เราประกวดแบบชนะ มีโอกาสได้ดูงานตั้งแต่วันแรกที่เริ่มทำ ไปจนประกวดแบบชนะ จนได้ทำแบบจริง แล้วก็ดูจนโครงการแล้วเสร็จ ที่คิดว่าดีก็เพราะได้ร่วมออกแบบตั้งแต่ต้น มีเวลาที่จะทำ ตลอดจนถึงเรามีลูกค้าที่ดี มีทีมงานที่ดี มีเจ้านายที่ดี เลยทำให้ได้ผลงานที่ดี เป็นที่พอใจ
ภาพจาก http://www.emporis.com/en/wm/cx/?id=109582 |
: อุปสรรคก็จะมีจาก Factor ภายนอก ที่เป็นเรื่องเกี่ยวกับเศรษฐกิจระดับโลก ระดับประเทศ จนถึงงานที่เราจะต้อง Deal กับ Developer กับเอกชน Factor ภายในก็เป็นการทำงานระหว่างแต่ละลูกค้า ซึ่งก็จะไม่เหมือนกัน การทำงานกับ Consult กับผู้รับเหมา แล้วก็มี Factor ภายในบริษัทเอง เพื่อให้ได้งานที่มีคุณภาพ ในระยะเวลาและมีความถูกต้อง ซึ่งพี่คิดว่า “ อุปสรรคเกิด เพื่อให้เราแก้ไข ” ซึ่งที่ผ่านมาเราก็ผ่านมาได้ทั้งหมดนะครับ
4. อยากทราบว่าพี่ตั้มมีข้อคิด และวิธีปฎิบัติตนในการทำงานอย่างไรครับ?
: พี่คิดว่างานสถาปัตยกรรมอย่างแรก 1. คุณภาพของงาน งานที่ทำต้องมีคุณภาพ 2. เรื่องเวลา ต้องตรงต่อเวลา และต้องรวดเร็วในการทำงาน 3. ความถูกต้อง เนื่องจากงานของเราไม่ใช่ Art เพียงอย่างเดียว ซึ่งสถาปัตยกรรมต้องมีกฎหมาย มีความเป็น Physical อยู่ 4. ความตั้งใจ และ 5 .ความรับผิดชอบ ซึ่งความตั้งใจและความรับผิดชอบ จะเป็นส่วนที่ทำให้งานของเรามีคุณภาพ ทำให้ตรงต่อเวลา และทำให้งานมีความถูกต้อง คือช่วยผลักดันสามข้อแรกที่กล่าวมา
5. ความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่อง จรรยาบรรณวิชาชีพ?
: พี่คิดว่าเรื่องเกี่ยวกับจรรยาบรรณมีหลายอย่าง อย่างข้อบังคับของสภาสถาปนิก พี่คิดว่าก็ได้ปฏิบัติตามจรรยามารยาท ของสถาปนิกอย่างเคร่งครัดอยู่แล้วนะครับ เข้าใจว่าด้วย Compile ของบริษัทเองโดยรวมก็เน้นในเรื่องนี้อยู่แล้ว ไม่ว่าการทำงานกับผู้อื่นหรือส่วนของผลงาน Commission โดยอ้อมไม่มี รายได้บริษัทเรามาจากค่า Fee เพียงอย่างเดียว เนื่องเพราะเรามีความเป็น Professional Architect เพื่อให้งานที่ดีที่สุดให้กับลูกค้า รวมถึงเพราะได้รับการปลูกฝังมาตั้งแต่สมัยเรียน ทั้งที่ทำงานที่เดิม ซึ่งเป็นแนวทางการปฏิบัติมาโดยตลอด 100%
6. พี่ตั้มมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการออกแบบในสมัยใหม่ ทิศทางของสถาปัตยกรรมในปัจจุบัน จนถึงแนวโน้มในอนาคตอย่างไรบ้างครับ?
: ปัจจุบันเป็นโลกเปิด Communication ไม่จำกัด สมัยก่อนตอนเรียนงานที่เห็นก็มาจากอาจารย์ จากรุ่นพี่ ในหนังสือ สมัยนี้มี Internet UpdateแบบReal Time ความรู้ในเรื่องของ Knowledge มีการTransferแลกเปลี่ยนกันอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดการแข่งขันตาม ทำให้สถาปนิกสมัยใหม่มีการ Share ความรู้ในเรื่องที่ใกล้เคียงกันได้ ถ้าเรารับรู้ได้เร็ว เราก็จะพัฒนาเร็วได้ สถาปนิกที่Respond ช้า โอกาสที่จะได้รับงานก็น้อยลง เราต้องเรียนรู้ตลอดเวลาไม่ว่าจะทำงานมานานแค่ไหน สถาปนิกต้อง Practice การออกแบบอยู่ตลอดเวลา ถ้าไม่ทำอย่างนั้นก็อาจจะตาม trend ไม่ทัน ยิ่งการแข่งขันจากต่างประเทศในทุกวันนี้สูงมากขึ้นเรื่อยๆ การเปิดการค้าเสรีนั้นก็มีผล สถาปนิกไทยถ้าไม่พัฒนา ไม่รับผิดชอบ ไม่มีวินัยจะถูกกลืนหายไป แม้ทุกวันนี้จะมีจำนวนมากก็อาจจะถูกกลืนหายไปอยู่ในสายอาชีพอื่น
7. ข้อสุดท้ายแล้วครับ รบกวนพี่ตั้มช่วยฝากข้อคิดให้กับน้องๆรุ่นใหม่ที่จะจบออกไปทำงานด้วยครับ?
: ที่นี่ที่ P&T ก็มีน้องๆเข้ามาทำงานอยู่อย่างสม่ำเสมอนะครับ แต่ก็จะขาดหายไปอยู่ช่วงหนึ่ง สิ่งที่ดีของลาดกระบังก็คือ ความอดทน การเปิดรับความรู้ใหม่ๆ ซึ่งพอถึงเวลาในการสอนสิ่งใหม่ให้จะรับรู้ได้ดี ซึ่งพี่คิดว่าความอดทน การเปิดรับเนี่ยช่วงหนึ่งขาดหายไป มันจะเริ่มกลับมา พี่คิดว่าควรเก็บไว้ เพราะมันเป็นจุดเด่นของลาดกระบัง
ความอดทน ตั้งใจ การเรียนรู้สิ่งใหม่ อยากให้รักษาไว้ การทำงานจะให้ประสบความสำเร็จต้องใช้เวลา หมั่นฝึกฝน เพราะมันไม่มีทางลัด ขอฝากรุ่นน้องและอาจารย์ เก็บสิ่งที่ดีเหล่านี้ไว้ในรุ่นถัดๆไปด้วยครับ.
บทสัมภาษณ์ต่อจากนี้พี่ตั้มบอกว่าไม่ต้องเอาลงไปก็ได้ แต่เนื่องจากกระผมเห็นว่ามีความสำคัญและน่าสนใจ จึงขออนุญาตนำมาลงไว้ หากผิดพลาดประการใดกระผมขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยครับ
( ต่อจากข้อ 7.) : Generation ถัดไปนี่ต้องใช้วิจารณญาณเอง คือ Generation มันเปลี่ยนไปไม่เหมือนเดิม สิ่งที่จะเป็นคำถามกลับไปก็คือว่า เด็กรุ่นใหม่ทำงานได้เร็วขึ้น เปิดรับสิ่งใหม่ได้มากขึ้น แต่ความขยัน ตั้งใจ ยังแพ้ชาติอื่นอีกเยอะ คนไทยไอเดียดี แต่วินัย ความรับผิดชอบ ความตั้งใจในการทำงาน น้อยกว่าชาติที่พัฒนาแล้วในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในภูมิภาคที่ใกล้เคียงกับเรานี่แหละ อย่างสิงคโปร์ ไต้หวัน พี่ว่าไทยเราใจเย็นเกินไป
ทั้งหมดที่พี่ตั้มกล่าวมา ก็คือเป็นแนวทางที่ทำให้พี่ตั้มเป็นได้อย่างทุกวันนี้รึเปล่าครับ?
: ก็เป็นเพียงส่วนหนึ่งนะครับ อย่างที่บอกมาส่วนหนึ่งเพราะได้เจ้านาย เพื่อนและทีมงานที่ดี สุดท้ายก็อยู่ที่โชคด้วย อย่างตอนที่พี่จบมาอยู่ในช่วงที่ค่อนข้างดี และตัว Timing นี่ก็สำคัญ
ชีวิตสำคัญคือการแบ่ง Timing คือเราต้องรู้ว่าช่วงไหนเราต้องทำอะไร Timingก็คือเป็นการแบ่งว่าช่วงชีวิตนี้ในระยะเวลานี้เราจะทำอะไร แล้วต่อจากนี้ทำอะไร เป็นการวางแผนให้ชีวิต มันเป็นอะไรที่มากกว่าการแบ่งเวลา ในชีวิตประจำวัน
การจะแบ่ง Timing เนี่ย ต้องอาศัยประสบการณ์ด้วยเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยรึเปล่าครับ?
: คือทุกอย่างต้องใช้เวลา Timingเป็นการแบ่งอย่างเช่น ระยะเวลา 40 ปี 5ปีแรกใครอาจวางแผนจะมีรถ อีกช่วง 10 ปีจะมีบ้าน แต่ในความเป็นจริง 5 ปีแรกมันไม่มีอะไรเลย ถ้าวางแผนชีวิตดี 5 ปีแรกอาจเป็น 5 ปีทอง ในขณะที่คนอื่นอาจใช้ 5 ปีแรกไปกับอะไรอย่างอื่น เพราะฉะนั้น 5ปีของเราอาจเป็น 10 ปีของคนอื่น คือเป็นการปูพื้นฐานในอนาคตของเรา แต่ก็ขอให้เราทำตาม Timing ไป ทำอย่างสม่ำเสมอ 5ปีอาจไม่เห็นผล มันอาจจะเป็นช่วง Peak Time ซึ่ง 10 ปีอาจมีครั้งเดียว
สมัยปี 3 พี่เคยตรวจแบบกับอาจารย์กุลธร มีคำพูดของอาจารย์ที่ก็เป็นอีกอย่างที่ยึดมาทุกวันนี้ บอกว่า
“ เราต้องรู้จักฉวยโอกาสไว้ ถ้าโอกาสไม่มีเราก็ต้องสร้างมัน ”.
ขอขอบพระคุณพี่ตั้ม คุณปวีณ กอบบุญ สำหรับโอกาส ความรู้ ข้อคิดดีๆในการสัมภาษณ์ครั้งนี้ และต้องขอโทษอีกครั้ง สำหรับการเสียสละเวลาของพี่ มา ณ โอกาสนี้ด้วยครับ.
สัมภาษณ์วันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2553
สถานที่ บริษัท Palmer & Turner (Thailand) Ltd.
ผู้ให้สัมภาษณ์ : คุณปวีณ กอบบุญ Director : Palmer & Turner (Thailand) Ltd. และรุ่นพี่สถาปัตย์ลาดกระบัง
บทสัมภาษณ์และเรียบเรียงโดย : นายตฤณ เดี่ยวตระกูล รหัส 49020135
ผู้ให้ Assignment : ผศ.ไกรทอง โชติวุฒิพัฒนา